ตัวกรองผลการค้นหา
ธรรมราชา
หมายถึงน. พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า, พระราชาผู้ทรงธรรม, พญายม.
ธรรมวัตร
หมายถึงน. ลักษณะเทศน์ทำนองธรรมดาอย่างหนึ่งที่แสดงอยู่ทั่วไป ไม่ใช่ทำนองแบบเทศน์มหาชาติ.
ธรรมสภา
หมายถึงน. ที่ประชุมฟังธรรม. (ส.; ป. ธมฺมสภา).
ธรรมสาร
หมายถึงน. สาระแห่งธรรม, แก่นธรรม.
ธรรมายตนะ
หมายถึง[ทำมายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).
ธรรมารมณ์
หมายถึง[ทำมา-] น. อารมณ์ที่ใจรู้, อารมณ์ที่เกิดทางใจ. (ป. ธมฺมารมฺมณ).
นักธรรม
หมายถึงน. ผู้รู้ธรรม, ผู้สอบความรู้ธรรมได้ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ มี ๓ ชั้น คือ ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก; ฤษี.
นางรม
หมายถึงน. ชื่อเห็ดชนิด Pleurotus ostreatus (Fr.) Quél. ในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นเป็นกลุ่มบนขอนไม้ โคนก้านดอกติดกัน มีหลายพันธุ์ ดอกเห็ดสีขาวหรือขาวอมเทา เนื้อนุ่ม กินได้, ชื่อที่ถูกต้องคือ เห็ดหอยนางรม.
นาฏกรรม
หมายถึง[นาดตะกำ] น. การละครหรือการฟ้อนรำ; (กฎ) งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และหมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย. (ส.).
นิติกรรม
หมายถึง(กฎ) น. การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ.
นิติกรรมอำพราง
หมายถึง(กฎ) น. นิติกรรมอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาลวง เพื่อปิดบังนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาอันแท้จริง ซึ่งกฎหมายให้บังคับตามกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางนั้น.
บรทารกรรม
หมายถึง[-ทาระ-] (แบบ) น. การประพฤติผิดในเมียเขา. (ส.).