ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ตรา, มินตรา, ลัญฉน์,ลัญฉะ, เสมียนตรา, กฎ, ตราชู, มุททา, หันตรา, ลัญจกร,ลัญฉกร
ตรวจตรา
หมายถึงก. พิจารณาดูให้รอบคอบถี่ถ้วน.
ตรา
หมายถึง[ตฺรา] น. เครื่องหมายที่มีลวดลายและทำเป็นรูปต่าง ๆ สำหรับประทับเป็นสำคัญ เช่น ตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ ตราบัวแก้ว, สำหรับเป็นเครื่องประดับในจำพวกราชอิสริยาภรณ์ เช่น ตราช้างเผือก, สำหรับเป็นเครื่องหมาย เช่น ผ้าตรานกอินทรี. ก. ประทับเป็นสำคัญ เช่น ตราไว้; กำหนดไว้, จดจำไว้, เช่น ตราเอาไว้ที; ตั้งไว้ เช่น ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้.
เภตรา
หมายถึง[เพตฺรา] น. เรือ, เรือสำเภา. (เทียบ ส. วาหิตฺร, เภฏ ว่า เรือ).
มินตรา
หมายถึง[-ตฺรา] น. ต้นกระถิน. (ช.).
ศาสตรา
หมายถึง[สาดตฺรา] น. ดู ศัสตรา
สาตรา
หมายถึง[สาดตฺรา] (โบ) น. ของมีคม. (ส. ศสฺตฺร; ป. สตฺถ).
เงินทองตรา
หมายถึง(โบ) น. เงินตราที่ทำด้วยทองหรือเงินเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ.
จิตระ,จิตรา
หมายถึง[จิดตฺระ, จิดตฺรา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๔ มี ๑ ดวง เห็นเป็นรูปต่อมนํ้าหรือไต้ไฟ เช่น จิตราก็ปรากฏดำบล เสถียรที่สิบสี่หมาย. (สรรพสิทธิ์), ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวตาเสือ ก็เรียก. (ส.; ป. จิตฺตา).
ท้องตรา
หมายถึงน. หนังสือคำสั่งที่ประทับตราของเจ้ากระทรวง, เดิมเรียกว่า สารตรา.
ทุนสำรองเงินตรา
หมายถึง(กฎ) น. กองทุนสินทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรักษาไว้ เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา.
ประจำครั่ง,ประจำตรา
หมายถึงก. เอาครั่งผนึกแล้วประทับเครื่องหมายเป็นสำคัญ.
มาตรา
หมายถึง[มาดตฺรา] น. หลักกำหนดการวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกดจัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.